วันเสาร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2558

กรวยประสบการณ์ ( Cone of Experience)

กรวยประสบการณ์ หรือ Cone of Experience

เอดการ์ เดล (Edgar Dale) ได้จัดแบ่งสื่อการสอน เพื่อเป็นแนวทางในการอธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างโสตทัศนูปกรณ์ต่างๆ ในขณะเดียวกันก็แสดงขั้นตอน ของประสบการณ์การเรียนรู้   และการใช้สื่อแต่ละประเภทในกระบวนการเรียนรู้ด้วย โดยพัฒนาความคิดของบรุนเนอร์ (Bruner) ซึ่งเป็นนักจิตวิทยา ก่อนนำสร้างเป็น กรวยประสบการณ์” (Cone of Experience) โดยสามารถแบ่งเป็นขั้นตอนดังนี้
     1. ประสบการณ์ตรงและมีความมุ่งหมาย (Direct Purposeful Experience) ถือเป็นประสบการณ์ที่เป็นรากฐานของประสบการณ์ทั้งหมด เนื่องจากผู้เรียนได้เรียนรู้จากสถานการณ์จริง และเป็นรูปธรรมมากที่สุด หรือเกิดจากการกระทำของตนเอง เช่น การสัมผัส การเห็นการเรียนจากของจริง และการลงมือกระทำ เป็นต้น
     2. ประสบการณ์รอง(Contrived Experience)   เป็นการเรียนรู้โดยให้ผู้เรียนเรียนจากสิ่งที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงที่สุด ซึ่งอาจเป็นการจำลองหรือของจำลองก็ได้ เช่น การสร้างท้องฟ้าจำลอง การใช้หุ่นจำลอง ตัวอย่าง ตู้อันตรทัศน์หรือสื่อสามมิติ เป็นต้น
     3. ประสบการณ์นาฏกรรมหรือการแสดง(Dramatized Experience) เป็นประสบการณ์ที่จัดขึ้นแทนประสบการณ์จริง ซึ่งเป็นการแสดงบทบาทสมมติ หรือการแสดงละคร เพื่อเป็นการจัดประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียนในเรื่องที่มีข้อจำกัดด้วยยุคสมัย เวลาและสถานที่ เช่น การแสดงละครประวัติศาสตร์ ละครพื้นเมือง หรือเรื่องราวที่เป็นนามธรรม เป็นต้น
     4. การสาธิต (Demonstration) คือ การอธิบายข้อเท็จจริง ความจริง และกระบวนการที่สำคัญที่แสดงให้เห็นเป็นลำดับขั้นตอนของการกระทำนั้น อาจเป็นการแสดงหรือกระทำประกอบคำอธิบาย เช่น การฉายภาพยนตร์ สไลด์ และฟิล์มสตริป แสดงเนื้อหาในส่วนที่ต้องการสาธิต เป็นต้น
     5. การศึกษานอกสถานที่ (Field Trip) เป็นการให้ผู้เรียนได้รับและเรียนรู้ประสบการณ์ต่างๆภายนอกสถานที่เรียน เช่น การเยี่ยมชมสถานที่ประวัติศาสตร์ต่างๆ การสัมภาษณ์บุคคลที่มีความรู้ เป็นต้น
     6. นิทรรศการ (Exhibition)  เป็นการจัดแสดงสิ่งของต่างๆ การจัดป้ายนิเทศ เพื่อให้ความรู้และสาระประโยชน์แก่ผู้ชม โดยการนำประสบการณ์หลายอย่างมาผสมผสานกันมากที่สุด
     7.โทรทัศน์ (Television) เป็นประสบการณ์ที่ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยการเห็นและได้ยิน เสมือนอยู่ในเหตุการณ์จริง โดยโทรทัศน์ยังสามารถถ่ายทอดเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะนั้นได้อีกด้วย ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจเรื่องราวและสิ่งต่างๆได้ดีขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถบันทึกรายการไว้สำหรับศึกษาต่อในภายหลังได้อีกด้วย
     8. ภาพยนตร์(Motion Picture)   เป็นประสบการณ์ที่ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยการเห็นและได้ยินเช่นเดี่ยวกับโทรทัศน์ แต่เรื่องราวต่างๆจะทุกบันทึกไว้ในลักษณะของฟิล์มหรืออยู่ในรูปแบบของ สื่อDVD หรือ VCD
     9. การบันทึกเสียง วิทยุ ภาพนิ่ง (Recording, Radio and Still Picture) การบันทึกเสียงอาจอยู่ในรูปของแผ่นเสียงหรือเทปบันทึก วิทยุเป็นสื่อที่ให้เฉพาะเสียง ส่วนภาพนิ่งอาจเป็นภาพวาด ภาพล้อ หรือภาพเหมือนจริงก็ได้ ข้อมูลที่อยู่ในสื่อดังกล่าวสามารถให้ประสบการณ์กับผู้เรียนได้ โดยไม่ต้องมีความรู้ก็ได้ แต่สามารถเข้าใจเนื้อหาเรื่องราวที่สอนได้ เนื่องจากใช้วิธีการฟังและดูเท่านั้น
    10. ทัศนสัญลักษณ์(Visual Symbol) เป็นประสบการณ์ที่เป็นนามธรรมมากขึ้น จำเป็นต้องคำนึกถึงประสบการณ์ของผู้เรียนเป็นพื้นฐานในการเลือกนำไปใช้ เช่น แผนภูมิ แผนที่ แผนสถิติ ภาพโฆษณา การ์ตูน และสัญลักษณ์ต่างๆ เป็นต้น

    11. วจนสัญลักษณ์(Verbal Symbol) เป็นประสบการณ์ขั้นสุดท้าย ซึ่งเป็นขั้นนามธรรมมากที่สุด ไม่มีส่วนคล้ายคลึงกับของจริง ได้แก่ ตัวหนังสือในภาษาเขียน   เสียงของคำพูดในภาษาพูด เป็นต้น

ที่มา :  ที่มา : สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตชุมพร. ประเภทของสื่อการสอน. [ออนไลน์].

    เข้าถึงได้จาก http://www.ipecp.ac.th/ipecp/wbi/ed-  techno/program/unit4/page2.html.